วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนที่ ๓


การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
สะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อ
ความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้อง
มีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง

รูปแบบการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
             1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
              2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ        
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงโดยทั่วไปจะเกิดจากการสื่อสาร ต่อไปนี้

          1. การสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า 
              เป็นการสื่อสารที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเผชิญหน้ากันในการสนทนา เช่น บริกรต้องเข้ามารับ order จากลูกค้า แพทย์ต้องเข้าตรวจรักษา สอบถามอาการกับคนไข้ เป็นต้น   รูปแบบการสื่อสารที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้รับสารอย่างตรงไปตรงมา   การสื่อสารด้วยวิธีนี้จึงเป็นรูปแบบที่ดีในการที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมาและมีข้อผิดพลาดทางการสื่อสารน้อยมาก
          2. การสื่อสารสองทาง
              การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารที่มีการโต้ตอบกันไปมาของผู้ส่งสารและรับสารทั้งสองฝ่าย   การสื่อสารรูปแบบนี้จะไม่สร้างความสับสนแก่คู่สนทนา   อีกทั้งก่อให้เกิดความน่าสนใจใครรู้และเกิดสมาธิในการรับสารได้ง่าย  

          3. การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลาย
              การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลายเป็นการเลือกใช้สื่อที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร   โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของเนื้อหา  สภาพแวดล้อม  ผู้รับและผู้ส่งสาร   รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรับและส่งสาร   เพื่อให้การส่งสารรูปแบบที่เลือกมานั้นเป็นสารสื่อสารที่ได้ผลและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้มากที่สุด

          4. ผู้รับสามารถรับสารได้ปริมาณมากพอ
              ในแต่และบุคคลจะสามารถรับสารในแต่ละชนิดได้แตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับความชอบ  ความถนัด  ภูมหลังและปัจจัยด้านอื่นๆ  การเลือกใช้สารที่สามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือส่งสารได้ในปริมาณมากพอกับความต้องการของผู้รับสารก็นับเป็นรูปแบบที่เหมาะสมของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ   ทั้งนี้เมื่อสารถูกส่งไปแล้วนั้นผู้รับซึ่งก็คือเด็กและเยาวชนหากสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือสามารถนำไปใช้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องการยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการสื่อสาร  ไม่เพียงลบปัญหาด้านอาการขาดสมาธิ  แต่ยังสามารถนำสารที่ได้รับไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงยิ่งขึ้น

          5. ผู้รับมีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง
              ความแม่นยำเที่ยงตรงในการรับสารนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างเที่ยงตรง  ทั้งประสบการการรับสาร ประสบการณ์ในข้อมูลข้าวสารที่ถูกส่งมา  อีกทั้งการมีสติและสมาธิในการรับสื่อที่ส่งมาจะมีผลอย่างสูงต่อความแม่นยำเที่ยงตรงของข้อมูล   
          6. การหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารดังกล่าวข้างต้น
              การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด   ทั้งนี้เพราะ  อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลที่ถูกส่งมามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด   การเกิดอุปสรรคต่างๆ ข้างต้นก็นับเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการขาดสมาธิในเด็กและเยาวชนด้วยเช่นกัน   หากสามารถลบอุปสรรคต่างๆ ไปได้  การสื่อสารย่อมประสบความสำเร็จได้ในที่สุด


ประเภทของการสื่อสาร     แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 
 1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
             2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกันเป็นต้น
            3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
          4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ   เพื่อการ     ติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เลี่ยกัน 

ความมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสาร 
1.  จุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร 
                        -  เพื่อแจ้งให้ทราบ    -  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา 
                        -  เพื่อสร้างความพอใจและให้ความบันเทิง -  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 
2.  จุดมุ่งหมายของผู้รับสาร 
 -  เพื่อทราบ     -  เพื่อศึกษา 
                         -  เพื่อก่อให้เกิดความพอใจ   -  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ  

อุปสรรคในการสื่อสาร
            ในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ที่ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.      ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2.      ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจนไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3.      มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1  สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2  สื่อรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรค์ที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4.      ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสบการณ์เดิม
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม
4.5 การไม่ยอมรับ
4.6 จินตภาพของข่าวสารไม่ตรงกัน

การสื่อสารในการเรียนการสอน
1.      กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน
การถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน เป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนหรือสื่ออื่น ๆ กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในห้องเรียน นอกห้องเรียนกิจกรรมการละเล่น การศึกษาค้นคว้า ย่อมมีจุดหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน กระบวนการเรียนการสสอนกับกระบวนการสื่อสารมีจุดประสงค์และกระบวนการเหมือนกัน

รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับองค์ประกอบและโครงสร้างของการสื่อสาร ซึ่งแต่ละองค์ประกอบในกระบวนการเรียนการสอนมีความหมายดังนี้
1.1  ครู ในฐานะเป็นผู้ส่งและผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอนทั้งหมดเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดศักยภาพของแต่ละคน ดังนั้นครูจึงควรมีภารกิจสำคัญดังนี้
1.1.1        ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.1.2        ทำความรู้จักและเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล
1.1.3        มีความสามารถในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง
1.1.4        จัดบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการสื่อสาร
1.1.5        วางแผนจัดระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
1.2  เนื้อหาบทเรียนมีความหมายรวมถึงหลักสูตร เจตคติ ความรู้สึก จุดมุ่งหมาย เป็นสาระที่ครูต้องสื่อสารไปสู่ผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสม เนื้อหาบทเรียนที่ดีความมีลักษณะดังนี้
1.2.1        เหมาะกับธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละเพศและวัย เช่น ระดับสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจสังคม
1.2.2        สอดคล้องกับเทคนิควิธีการสอน หรือสื่อต่าง ๆ
1.2.3        เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ


1.3  สื่อหรือวิธีการ เป็นตัวกลางหรือพาหนะที่จะนำเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิด เช่น บทเรียน ครู ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อควรมีลักษณะเป็นดังนี้
1.3.1        มีศักยภาพเหมาะกับธรรมชาติของเนื้อหาบทเรียน
1.3.2        สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทรับสัมผัสแต่ละช่องทาง
1.3.3        มีลักษณะเด่นกระตุ้นความสนใจได้ ดูง่าย สื่อความหมายดี
1.3.4        มีความถูกต้องสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน
1.3.5        จัดหาและเก็บรักษาง่าย ใช้สะดวก
1.4  นักเรียนหรือผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักของกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรูปแบบเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งสิ้น ผู้เรียนจัเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้
1.4.1        มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย และจิตใจ
1.4.2        มีความพร้อมความถนัดและความสนใจในเรื่องที่จะเรียนรู้
1.4.3        มีทักษะในการสื่อสารทั้งกับตนเองและผู้อื่น
1.4.4        มีเจตคติที่ดีต่อครูผู้สอนและเนื้อหาบทเรียน
1.5  การประเมินผล เป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับจากการสื่อสารหรือการเรียนการสอนทั้งระบบ เพื่อให้ทราบถึงข้อดีหรือข้อบกพร่องของครู เนื้อหาบทเรียน สื่อหรือวิธีการและนักเรียน

ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
          โดยปกติทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนใช้การสื่อสารในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นตลอดเวลาอยู่แล้ว จนถึงได้ว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต แต่การสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนที่เป็นไปเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จะมีลักษณะดังนี้
            2.1 เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน อาจเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทางก็ได้
            2.2 การมอบหมายสั่งงานหลังจากให้ความรู้แล้ว ควรมีการเน้นหรือทบทวนคำสั่งหรือข้อตกลง เพื่อให้เกิดความจำและความเข้าใจที่ถูกต้อง
            2.3 การให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การสื่อสารจะถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น การสื่อสารทางเดียว การสื่อสารสงทาง เป็นต้น
            2.4 การวิจารณ์หรือการติชมงานเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสื่อสารที่ดีควรมีลักษณะสร้างสรรค์เป็นแรงบันดาลใจในการเยนรู้อย่างจริงจัง
            2.5 การสนทนาโต้ตอบตามปกติซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ การสื่อสารควรมีลักษณะเป็นกันเอง แสดงถึงความเอื้ออาทรและการมีเจตคติที่ดีต่อกัน

การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
            การจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลดีต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ครูผู้สอนนักเรียน เนื้อหาบทเรียน สื่อการเรียนการสอน วิธีสอนหรือการสื่อสารกับผู้เรียนแต่ละด้านต้องสัมพันธ์ สอดคล้องซึ่งกันและกัน ครูผู้สอนที่การสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายมีชีวิตชีวา มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและบทเรียน เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ ดังนั้นการปรับใช้การสื่อสารเพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้
            3.1 ครูผู้สอนควรใช้การสื่อสารสองทาง ให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลเป็นอย่างไร ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะสามารถปรับกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
            3.2 ในกระบวนการเรียนการสอนครูผู้สอนควรใช้สื่อการเรียนหลาย ๆ ชนิด หรือี่เรียนกว่า “สื่อประสม” เพื่อให้สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการฟัง บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการดูภาพหรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
            3.3 กระบวนการเรียนการสอนที่ดีควรให้ผู้เรียนมี่ประสบการณ์หลายด้านด้วยการใช้ประสามสัมผัสหลายทาง การที่ผู้เรียนรับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากประสาทสัมผัสหลายด้านจะเป็นการตอดย้ำพฤติกรรมการรับรู้และเรียนรู้ให้เด่นชัดและเข้มข้น จนในที่สุดกลายเป็นประสบการณ์ถาวรตลอดไป
            3.4 ครูผู้สอนควรมีทักษะในการสื่อสารหรือการถ่ายทอดความรู้หลายด้าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญผู้ที่มีอาชีพครู เช่น การพูด การฟัง การเขียน ตลอดจนทักษะการใช้สื่อหลายชนิดประกอบการเรียนการสอน ตั้งแต่สื่อพื้นฐาน เช่น แผนภูมิ รูปภาพ โปสเตอร์ จนถึงการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
            3.5 อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอนได้แก่ สิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น กลิ่นเหม็น อากาศร้อน ฝนเปียก ลมแรง เสียงดัง ดังนั้น ครูผู้สอนควรป้องกันหรือขจัดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งรบกวนให้หมดสิ้นหรือเหลือน้อยที่สุด
            3.6 ผู้เรียนเองควรเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้และเรียนรู้ ด้วยการให้ความสนใจสังเกต ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ ต้องพยายามเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์จากบทเรียนให้สัมพันธ์กับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
          ปัญหาอุปสรรคในการเรียนรู้ของผู้เรียนประการหนึ่งคือความล้มเหลวในการสื่อสารหรือการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการดังนี้
4.1  ครูผู้สอนไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้น ๆ
4.2  ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันกับผู้เรียนทุกคนทุกเนื้อหาบทเรียน เช่น การสอนด้วยการบรรยายเพียงอย่างเดียว การสอนเนื้อหาตามที่ครูผู้สอนเข้าใจ ขาดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เหมาะกับผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคน
4.3  ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายสำหรับผู้เรียน ไม่สร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน ไม่หาวิธีป้องกันและขจัดปัญหาสิ่งรบกวนต่าง ๆ
4.4  ครูผู้สอนนำเสนอเนื้อหาสาระวกวน สับสน ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน สลับกันไปมาทำให้เข้าใจยาก บางครั้งอาจจะนำเสนออย่างรวดเร็วจนผู้เรียนตามไม่ทันในสถานการณ์นั้น
4.5  ครูผู้สอนบางคนใช้ภาษาไม่เหมาะกับระดับหรือวัยของผู้เรียน อาจเป็นคำหรือภาษาที่เข้าใจยาก นอกจากนี้ครูยังไม่สนใจที่จะเลือกหรือใช้สื่อการสอนให้เหมาะกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น